วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การเลี้ยงลูกของกบลูกศรพิษ





    กบลูกศรพิษ หรือ Poison Dart Frog เป็นกบที่มีลีลาการเลี้ยงลูกอ่อนที่น่าทึ่ง บางเวลาจะเสาะหาแหล่งน้ำค้างชั่วคราวที่ อยู่บนต้นไม้เอาไว้ใช้เลี้ยงลูก แลบางครั้งก็จะแบกลูกๆไปหาแหล่งน้ำใหม่ๆ เพื่อให้ลูกกบได้เติบโตได้อย่างน่าทึ่ง กบประเภทนี้ มีไข่ครั้งละไม่มากนัก แต่ก็มีการเลี้ยงดูลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี ทำให้อัตราการรอดชีวิตสูง พอจะสืบเผ่าพันธุ์กันต่อไปได้นั่นเอง


    ในเมืองไทย ก็มีกบลูกศรพิษ มาจำหน่าย กันอยู่เรื่อยๆ แต่ด้วยความที่กบชนิดนี้ ออกลูกน้อย ราคาจึงค่อนข้างสูงซักหน่อย แลใครเพาะได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่หายากนี่ มักจะถูกรุมทึ้งขอซื้อจากทั้งคนไทย และ ต่างประเทศเหมือนกัน อนึ่ง กบที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง จะไม่มีพิษใดๆ เพราะพิษจากกบจำพวกนี้ เกิดจากการกินแมลงบางชนิดในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดครับ แลเป็นเรื่องดี ที่สภาพภูมิอากาศบ้านเรา ใกล้เคียงกับแหล่งกำเนิด ในทวีปอเมริกาใต้ของเขา บ้านเราจึงสามารถเพาะกบนี้ได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียวครับ...

เครดิตภาพจาก Internet จ๊ะ....
เรียบเรียง : กษิดิศ วรรณุรักษ์

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เอาภาพน้องกุ้งแคระสุราเวสี สวยๆ มาฝากกันครับ


    วันนี้เอาภาพกุ้งแคระสุราเวสี สวยๆ มาฝากพี่ๆน้องๆคนรักกุ้งแคระกันจ้า ช่วงนี้ นับว่า การเพาะเลี้ยงกุ้งแคระสุราเวสี เพื่อจำหน่ายนั้น ได้รับผลตอบรับกันดีทีเดียวนะครับ รวมทั้งองค์ความรู้ในด้านการเลี้ยงนั้น ก็พัฒนาขึ้นมาก มีอุปกรณ์ในการเลี้ยงที่สะดวกมากขึ้น ทำให้มีนักเลี้ยงกุ้งแคระสวยงาม หลายท่าน หันมาเพาะกุ้งแคระสุราเวสี เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมหลายท่านเลยทีเดียวครับ

เครดิตภาพจากเฟสบุ๊ค คุณ Nurhana จ้า




**************************************************************

อ่านบทความอื่นๆ ได้เพิ่มที่นี่นะครับ  ได้รวบรวมเป็นลิงค์มาให้แล้ว เพื่อความสะดวกครับ


ถ้าพี่ๆน้องๆสนใจบทความ และ หนังสือน้องกุ้งแคระ & กุ้งเครย์ อื่นๆ อยากเก็บเอาไว้สะสม สามารถเข้าไปที่นี่ได้เด้อครับ


ติดตาม แฟนเพจ Thailand Aquatic Pet เพื่อติดตามเรื่องราวน่าสนใจ เกี่ยวกับกุ้งสวยงาม และ สัตว์น้ำสวยงาม ที่น่าสนใจ ได้ที่นี่ครับ


***************************************************************

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ภาพน้องปลาสายอเมริกาใต้สวยๆ ที่ร้านขายปลา ที่จตุจักรจ้า




   ภาพน้องปลาสายอเมริกาใต้สวยๆ ที่ร้านขายปลา ที่จตุจักรจ้า ดูสบายตา สบายใจดีแท้เด้อครับเด้อ....
ป.ล. แต่เหมือนแอบมีปลาไทยตัวเป้งปนๆอยู่เหมือนกันนะ 555

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ช่อง youtube กุ้งเครย์ฟิชสวยงามมาใหม่ครับ





วันนี้เอาคลิปของช่อง Youtube ใหม่ เกี่ยวกับกุ้งเครย์ฟิชสวยงาม มาให้ชมกันเพลินๆเน่อ ถ้าถูกใจก็ Subscribe และกดติดตามกันได้เลยเด้อครับเด้อ 


วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กุ้งเครย์ฟิช Cherax lorentzi กุ้งเครย์ฟิช สีสวยงาม สุดแวววาว




  กุ้งเครย์ฟิช Cherax lorentzi ( คำนิยามโดย Roux, 1911 ) เป็นกุ้งเครย์ฟิช ที่ถูกจัดหมวดหมู่ จากหน่วยงาน Scientifically inadequate designation kreef ( ซึ่ง Kreef มีความหมายเดียวกับ Crayfish ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905กุ้งเครย์ฟิช สายพันธุ์นี้ มีความยาวของลำตัวได้ประมาณ 16 เซนติเมตร และมีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่ในหลายพื้นที่ เช่น ที่บริเวณ ทางตะวันตก และ ตะวันตกเฉียงเหนือของ ของพื้นที่แถบปาปัวนิวกินี บริเวณ แม่น้ำ Lorentz ทางด้านตะวันตกของอ่าว Geelvink และ ในอ่าว Etna ทางด้านล่างของภูเขา Charles Louis , ในแม่น้ำ Mimika และ บริเวณหมู่เก่า Regen และ Bivak จึงนับว่าเป็นกุ้งเครย์ฟิช ที่มีการกระจายประชากร อยู่ในหลายพื้นที่ของแถบปาปัวนิวกินีเลยทีเดียว

   เมื่อแรกเห็นกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้นั้น หลายๆ ท่านอาจจะหวนคิดคำนึงถืงญาติในตระกูลเดียวกัน อย่าง Cherax quadricarinatus เป็นรายชื่อแรก ๆ ที่แว่บเข้ามาในความคิด แต่ช้าแต่ เขาแห่ยายมา.... กุ้งเครย์ฟิช ชนิดนี้ ก็ยังมีความแตกต่าง จากญาติๆ ของมันเอง อย่าง Cherax quadricarinatus อยู่บางส่วน เช่น ในส่วนของก้าม จะมีลักษณะที่โค้งเป็นมุมมากกว่า และ สีสันของลำตัวจะมีความสดใส แวววาวมากกว่า อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะที่เปลือกส่วนห่าง และ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้ คือในส่วนที่เป็นขอบของก้าม ( หรือ ที่นิยมเรียกว่า นวม ) ที่มีสีสันสดใสนั้น จะมีความอ่อนนุ่ม ไม่ได้แข็งเหมือนกับกุ้งเครย์ฟิชหลายๆชนิดครับ ส่วนสีสันของลำตัว จะมีได้หลากหลายสี ขึ้นกับสภาพแวดล้อม และ อาหารที่กุ้งกินไป

   และเหมือนกับกุ้งเครย์ฟิช สาย C ญาติๆชนิดอื่นๆ เช่นเดียวกันครับ กุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้ ยังมี สายพันธุ์ย่อยอีกหนึ่งสายพันธุ์ ก็คือ Cherax lorentzi , Cherax lorentzi aruanus ( Roux, 1911 ) ซึ่งสำหรับสายพันธุ์นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะ Aroe ( พื้นที่ Trangan และ Kobroor ) ของพื้นที่ทาง ตะวันตกเฉียงใต้ ของนิวกีนี ซึ่งสามารถแบ่งแยกสายพันธุ์ย่อยนี้ได้ โดยการสังเกตลักษณะที่แตกต่างกันอยู่บางประการ เช่น ที่ส่วนกรีของกุ้ง Cherax lorentzi aruanus นี้จะเรียวและบางกว่า และ ส่วนก้ามก็จะ กว้างกว่าเล็กน้อยเป็นต้น

    นิสัยกุ้งชนิดนี้ ค่อนข้างขี้อาย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับ ปลา หรือ หอยต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่อาศัยหากินอยู่ตามพื้นก้นตู้ เพราะอาจจะตกเป็นเหยื่อของกุ้งชนิดนี้ได้ เนื่องจากว่า หอย หรือ ปลาที่อ่อนแอนั้น คืออาหารตามธรรมชาติของกุ้งชนิดนี้ สำหรับการผสมพันธุ์ หลังจากการผสมพันธุ์กันเรียบร้อยแล้ว ตัวผู้กับตัวเมีย จะอาศัยอยู่ร่วมกันซักระยะหนึ่ง ตัวเมีย จะใช้เวลาในการฟักไข่ อยู่ที่ประมาณ 6 สัปดาห์ และ ตัวเมีย จะคอยอยู่ใกล้ๆ ดูแลลูกอ่อน อีกซักระยะ โดยประมาณได้ซัก 2 สัปดาห์ ก่อนลูกกุ้งจะเติบโต และ แยกย้ายกันไป ปริมาณของไข่ จะอยู่ที่ประมาณ 50 – 70 ฟองโดยประมาณ ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว จะค่อนข้างน้อยกว่ามากพอสมควร ถ้าเทียบกับญาติๆของมันบางชนิด เช่น กุ้งก้ามแดง ( Cherax quadricarinatus ) และ สามารถจะผสมพันธุ์วางไข่ได้ 3 – 4 ครั้ง ต่อปี ในการที่จะประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์กุ้งชนิดนี้นั้น ควรจะต้องจัดเตรียมคุณภาพน้ำให้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะปริมาณของอ็อกซิเจน ควรจะมีอยู่สูงในน้ำครับ หลังจากนั้น จึงนำกุ้งพ่อและแม่พันธุ์นำลงไปผสมเข้าคู่กัน และคอยสังเกตว่าตัวเมียนั้นท้องแล้วหรือยัง ถ้าท้องแล้ว ก็สามารถแยกตัวผู้ออกไปได้ และ รอขุนลูกกุ้งที่กำลังจะออกมาต่อไป

    ในปัจจุบันท้องตลาดบ้านเรา มีกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้จำหน่ายอยู่เป็นบางระยะครับ สนนราคาตอนนี้ ถือว่ายังสูงกว่า ญาติๆของมันอย่างกุ้งก้ามแดง Cherax quadricarinatus อยู่พอสมควร และ มีการนำกุ้งเครย์ฟิชสองชนิดนี้มาทำการผสมเป็นลูกผสมด้วย ซึ่ง สีสันของตัวกุ้ง ก็จะมีลักษณะที่ผสมผสานกันไป ของกุ้งเครย์ฟิช สองชนิดนี้ครับ 


เรื่อง : กษิดิศ วรรณุรักษ์

เครดิตภาพ :

https://www.youtube.com/watch?v=Dn2Mm7S3fuc