การอนุบาลลูกปูนา และ ลูกปูน้ำจืดชนิดต่างๆนั้น มักจะพบปัญหาสำคัญมากๆ อยู่บางประเด็นเช่น การปรับตัวไม่ได้กับสภาพแวดล้อมใหม่ๆของลูกปู , การลอกคราบไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการขาด อ็อกซิเจน หรือ สารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจาก ลูกปูจะมีการลอกคราบค่อนข้างบ่อย ในปูนาที่เป็นตัวอ่อนหลังจากฟักออกจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และตลอดการเจริญเติบโตจนถึง 8 เดือน จะมีการลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้ง ซึ่งในช่วงระยะแรกจะมีการลอกคราบบ่อย และช่วงหลังจะมีช่วงการลอกคราบน้อยลงเรื่อยๆ ยิ่งเป็นตัวเต็มวัยแล้ว อัตราการลอกคราบก็จะยิ่งน้อยลงๆ เรื่อยๆ นั่นเองและ สิ่งที่ผู้เลี้ยงมักจะพบเจอกันเป็นประจำก็คือ การกินกันเอง ระหว่างการลอกคราบ ซึ่งก็เป็นเพราะ ปูน้ั้นมีนิสัย ในการเป็นสัตว์ที่กินกันเองได้เสมอนั่นเอง ดังนั้น อัตราส่วนในการเลี้ยง ลูกปูนาวัยอ่อนนั้น ถ้าเป็นไปได้ ควรเลี้ยงรวมกันอย่างไม่หนาแน่นโดยอัตราการเลี้ยง และ อนุบาลที่เหมาะสม จะอยู่ที่ประมาณ 25 - 100 ตัว / 0.13 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 10,000 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตรนั่นเอง แต่แน่นอนว่า การเลี้ยงแบบหนาแน่นน้อย ก็ย่อมจะทำให้ ลูกปูนั้น มีโอกาศรอด และ เติบโตได้ดีมากขึ้นนั่นเองครับ
ตัวอย่างการจัดอ่างเพาะเลี้ยง และ อนุบาลลูกปู
ส่วนแนวทางการอนุบาลลูกปู ให้มีโอกาศรอดได้มากขึ้นนั้น เราอาจจะทำการแยกลูกปู มาอนุบาลในภาชนะ หรือ บ่อที่เราจัดเตรียมเอาไว้หลังจากนั้น เราอาจจะใส่ที่หลบเพิ่มเติมให้กับลูกปู ตามที่เราสามารถสะดวกทำได้ก็ได้ครับ เช่น ใส่มัดเชือกฟาง พลาสติค หรือ ขอนไม้ที่มีมุมเอาไว้ให้ลูกปูหลบซ่อนมากขึ้น ก็จะสามารถช่วยให้อัตราการทีลูกปูจะมีอัตรารอดสูงขึ้น จนโตมีมากขึ้นครับ เพราะว่าปูจะมีที่หลบซ่อนหลังจากการลอกคราบมากขึ้นนั่นเอง แล้วหลังจากนั้น ให้เราทยอยทำการคัดขนาดลูกปู เป็นระยะ เพื่อให้ ปูที่ยังมีขนาดเล็กที่เหลือ ได้ทยอยเติบโตขึ้นมาเป็นรุ่นๆได้เรื่อยๆนั่นเอง นอกจากนี้นั้น การให้อาหารที่ทั่วถึง ก็มีความจำเป็นมาก โดยผู้เลี้ยง ควรจะต้องกะปริมาณอาหารที่ให้เพียงพอกับลูกปู และไม่มากเกินไป จนน้ำเสีย เพราะจะเป็นอันตรายอย่างมากต่อลูกปูครับ
เรียบเรียง : กษิดิศ วรรณุรักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น