ปูนานั้นมักจะมีการผสมพันธุ์ ภายหลังจากที่ตัวเมียลอกคราบเสียเป็นส่วนมาก โดยปูนาตัวผู้จะรอคอยช่วงเวลาหลังจากตัวเมียลอกคราบ ซึ่งในช่วงนี้ตัวเมียจะมีอาการก้าวร้าวมาก และจะเลือกเพศผู้เพื่อผสมพันธุ์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น หากไม่ใช่ตัวที่เลือกก็จะไล่ให้ออกห่าง หากยอมรับก็จะมีการผสมพันธุ์ขึ้น โดยปูเพศผู้จะใช้ก้ามจับปูเพศเมียหงายด้านท้องขึ้น และแนบตัวเข้าติดจับปิ้งของปูเพศเมีย พร้อมสอดอวัยวะสืบพันธุ์ หรือที่เรียกกันว่า gonopod นั่นเอง เพื่อฉีดน้ำเชื้อเข้ารูเปิดของปูเพศเมียบริเวณหน้าอกบริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ที่มีสองรู เมื่อน้ำเชื้อถูกฉีดเข้าไป จะถูกนำเข้าเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อของปูเพศเมีย ซึ่งถุงน้ำเชื้อนี้ สามารถที่จะเก็บเอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงประมาณ 3-4 เดือนเลยทีเดียว การผสมพันธุ์นี้จะใช้เวลานานหลายชั่วโมงในบางครั้ง
โดยการสังเกตเพศของปูนาตัวผู้ และ ตัวเมียนั้น สามารถสังเกตในเบื้องต้นได้ดังนี้
– ปูนาเพศผู้จะมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเพศเมีย
– ปูนาเพศผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย
– ปูนาเพศผู้จะมีสีลำตัวเข้มกว่าเพศเมีย
– ปูนาเพศเมีย เมื่อพลิกส่วนท้องจะมีแผ่นรูปโค้งสามเหลี่ยมปิดทับส่วนท้อง
– ปูนาเพศผู้ ส่วนท้องจะไม่มีแผ่นปิดทับ จะเป็นเปลือกเรียบสีขาว มีแนวร่องกลางส่วนท้องเป็นรูปตัวที ซึ่งในส่วนนี้ จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในปูนาแต่ละชนิด
– ปูนาเพศผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย
– ปูนาเพศผู้จะมีสีลำตัวเข้มกว่าเพศเมีย
– ปูนาเพศเมีย เมื่อพลิกส่วนท้องจะมีแผ่นรูปโค้งสามเหลี่ยมปิดทับส่วนท้อง
– ปูนาเพศผู้ ส่วนท้องจะไม่มีแผ่นปิดทับ จะเป็นเปลือกเรียบสีขาว มีแนวร่องกลางส่วนท้องเป็นรูปตัวที ซึ่งในส่วนนี้ จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในปูนาแต่ละชนิด
อย่างไรก็ตาม ในการจับคู่ในการเลี้ยงปูนานั้น ก็ควรจะต้องใช้ความสังเกต ในส่วนของลวดลายและสีสัน ของปูด้วย เพราะถ้าเป็น ปูนาต่างชนิดกันมาผสมนั้น เช่น ปูนาก้ามหนีบขาวจากทางภาคใต้ มาเลี้ยงรวมกับทางปูนาก้ามหนีบม่วง ที่แพร่หลายไปหลากหลายภาค ก็อาจจะทำให้ปูมีการผสมพันธุ์กันได้ช้าลง ตามกลไกธรรมชาติ และ ยังไม่แน่ใจว่า ถ้ามีการผสมกันจริง ผลผลิตอาจจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่ง ก็ยังไม่มีการทดลองที่ชัดเจนมากนักในขณะนี้ครับ
หลังจากการผสมพันธุ์เสร็จ ปูเพศผู้จะยังตามติดปูเพศเมียต่ออีกประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองอันตรายให้ จนกว่าปูเพศเมียจะมีกระดองแข็งแรง และสามารถหาอาหารได้ตามปกติ หลังการผสมพันธุ์ ปูเพศเมียจะผลิตไข่ผ่านเข้าผสมกับน้ำเชื้อ และนำออกผ่านทางท่อนำไข่มาเก็บพักไว้ที่แผ่นท้องของตัวเอง ปูนาเพศเมียสามารถวางไข่ได้หลักร้อยต้นๆ หรือ หลายร้อยฟอง /ครั้ง และ การที่จะมีปริมาณไข่ได้มากเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์เพศของพ่อและแม่พันธุ์รวมทั้งขนาดของปูตัวเมียด้วย
ไข่ปูที่เก็บพักในแผ่นหน้าท้องของแม่ปูตัวเมียนั้น จะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆสีออกเหลืองๆ และจะมีสี และขนาดเข้มขึ้น เป็นสีโทนน้ำตาลขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโต และพัฒนาของตัวอ่อน โดยอาศัยอาหารจากไข่แดงในไข่ เมื่อถึงระยะก่อนฟัก ไข่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้ว การพัฒนาของไข่ปูนาในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และ อุณหภูมิเหมาะสมนั้น จะใช้เวลานานประมาณ 3-5 สัปดาห์ ไข่ก็จะเริ่มฟัก ลูกปูนาที่ฟักออกจากไข่จะฟักเป็นตัว ขณะที่ยังอยู่ในแผ่นท้องของแม่ปู และจะอาศัยในแผ่นท้องของแม่ปู่นาน 2-3 สัปดาห์ และจะทำการลอกคราบออกมาหลายครั้ง ก่อนที่แม่ปูจะใช้ขาเขี่ยลูกปูที่แข็งแรงแล้วออกไปอาศัยในแหล่งน้ำ ดำรงชีวิตต่อไปตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมแม่ปู่จะเก็บลูกอ่อนไว้นานขึ้น โดยสามารถเก็บลูกปูได้นานถึง 2 - 3 เดือนเลยทีเดียว ถ้าสภาพแวดล้อมนั้นยังไม่เหมาะสมต่อการปล่อยลูกปู โดยลูกปูที่ฟักออกมาใหม่จะมีลำตัวขนาดเล็กเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ลำตัวจะมีสีนวล และเมื่อเติบโตจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำตาลอ่อน และสีน้ำตาลเข้ม ตามลำดับ
Referrence :
ขอบคุณภาพประกอบจาก Facebook คุณ Ning Ning
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น